ประวัติผู้ประเมิน
ผลงานประเมิน PA
นายปรเมษฐ์ ศรีรัตนโชติ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
ประวัติส่วนตัวผู้รับประเมิน
ประวัติศาสตร์ ม.6
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 1 7 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้
รายวิชา ประวัติศาสตร์ ม.2 จำนวน 3 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ประวัติศาสตร์ ม.3 จำนวน 7 ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ประวัติศาสตร์ ม.6 จำนวน 3 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมลูกเสือ-เนตนารี จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมชุมนุมการลงทุนในโลกดิจิต จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- นักศึกษาวิชาทหาร จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 16 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ นักเรียน โดยการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้
1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ ปัญหาที่สำคัญของการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน คือการที่ผู้เรียนขาดความสนใจต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนท่องจำเพียงแค่อย่างเดียว ไม่สอนให้เกิดกระบวนการสืบเสาะค้นคว้า ไม่สอนให้เกิดการคิด วิเคราะห์ แยะแยะอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และตัวผู้เรียนเองที่ขาดความสนใจ จะส่งผลทำให้ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแย่ลง
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: ลักษณะงาน :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.1 สร้างและพัฒนาหลักสูตร :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ :::
1) นักเรียนจัดกลุ่ม 3 – 4 คน ตามความสามารถที่แตกต่างกัน
2) นักเรียนช่วยกันอภิปรายหัวข้อที่จะศึกษาแบ่งหัวข้อใหญ่ออกเป็นหัวข้อย่อย
3) กลุ่มแบ่งหัวข้อย่อยเป็นหัวข้อเล็ก ๆ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มเลือกไปศึกษาที่ตนสนใจ
4) นักเรียนเสนอผลงานของตัวเองต่อกลุ่ม
5) รวบรวมหัวข้อต่าง ๆ จากทุกคนในกลุ่ม
6) แต่ละกลุ่มรายงานผลงานหน้าชั้นเรียน
7) ประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงานที่นักเรียนนำเสนอ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.5 การวัดและประเมินผล :::
1) แบบทดสอบก่อน-หลังเรียนเมื่อผู้เรียนเรียนรู้จบหน่วยการเรียนรู้
2) แบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ความเป็นมาของชนชาติไทย
3) แบบประเมินชิ้นงาน “แหล่งอารยธรรมของเอเชีย”
4) แบบสังเกตพฤติกรรม กระบวนการและทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณของผู้เรียน
5) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.6 ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ :::
1) ทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ
2) การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการกลุ่ม
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน :::
1) เร้าความสนใจด้วย สื่อการสอน ที่นำนวัตกรรม เทคโนโลยี ที่ทันสมัย เข้ามาใช้ในการจัดการชั้นเรียน
2) ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสนำเสนอความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นแก่นความรู้ได้อย่างแท้จริง
3) เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวทักษะที่จำเป็นในวิชาประวัติศาสตร์ นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
4) ใช้สื่อการเรียนการสอน
5) ใช้รูปแบบการสอนด้วยกระบวนการกลุ่ม
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะ ที่ดีของผู้เรียน :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
::: ลักษณะงาน :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
::: 2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
::: 2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน :::
- มีการวิเคราะห์ผู้เรียน โดยใช้ผลการเรียนจากภาคเรียนที่ 1/2566 ในรายวิชาประวัติศาสตร์
- การเช็คชื่อนักเรียน ห้องมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 ตลอดทุกวัน
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
::: 2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา :::
- งานเรียนร่วมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- หัวหน้าระดับชั้น ม.3
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
::: 2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
::: ลักษณะงาน :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
::: 3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง :::
ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
::: 3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
::: 3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2566 ในเรื่องของมาตรฐานการเรียนและตัวชี้วัด ของเนื้อหารายวิชาสังคมศึกษา
2.2 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม
2.3 เปิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมและเข้าไปสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหา การจัดกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะ และสะท้อนผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ ให้เหมาะสมกับบริบทของห้องเรียน ผู้เรียน และสถานศึกษา
2.4 ครูผู้สอนนำกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
2.5 ครูผู้สอนสร้างแบบทดสอบ และแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม โดยตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ และปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
2.6 นำแบบทดสอบทดลองและกิจกรรมที่ออกแบบใช้กับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เคยเรียนเนื้อหา เรื่อง กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ เพื่อปรับปรุงแบบทดสอบอีกครั้ง
2.7 จัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ กับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรูปแบบ ONLINE หรือ ONSITE โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของห้องเรียน ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผ่านการศึกษาสถานการณ์หรือคลิปวิดีทัศน์ตัวอย่าง ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และส่งเสริมให้นักเรียนทํากิจกรรมร่วมกันโดยจัดกลุ่มและประกอบด้วยสมาชิก ที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน และมีความ รับผิดชอบร่วมกัน ผ่านกระบวนการกลุ่ม ดังนี้
(1) นักเรียนจัดกลุ่ม 3 – 4 คน ตามความสามารถที่แตกต่างกัน
(2) นักเรียนช่วยกันอภิปรายหัวข้อที่จะศึกษาแบ่งหัวข้อใหญ่ออกเป็นหัวข้อย่อย
(3) กลุ่มแบ่งหัวข้อย่อยเป็นหัวข้อเล็ก ๆ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มเลือกไปศึกษาที่ตนสนใจ
(4) นักเรียนเสนอผลงานของตัวเองต่อกลุ่ม
(5) รวบรวมหัวข้อต่าง ๆ จากทุกคนในกลุ่ม
(6) แต่ละกลุ่มรายงานผลงานหน้าชั้นเรียน
(7) ประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงานที่นักเรียนนำเสนอ
2.8 บันทึกผลการเรียนรู้ของสรุปสารสนเทศของผู้เรียน แล้วแจ้งให้ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทราบ และได้รับการพัฒนาจนกว่าผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
2.9 สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
3.1 เชิงปริมาณ
3.1 เชิงปริมาณ
ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 84 คน ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยใช้กระบวนกลุ่ม รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 33105 ดังนี้
1) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ความเป็นมาของชนชาติไทย ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด
2) แบบฝึกหัด เรื่อง ความเป็นมาของชนชาติไทย ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด
3) ชิ้นงาน กิจกรรม วิเคราห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด
4 ผู้เรียนร้อยละ 70 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าที่สถานศึกษากําหนด
5) ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ได้รับการซ่อมเสริม และปรับปรุงผลการเรียนให้ดีขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
3.2 เชิงคุณภาพ
3.2.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 84 คน ที่เรียนในรายวิชา ประวัติศาสตร์ มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ อันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น
3.2.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนทั้งหมด 84 คน ที่เรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์ มีทักษะการคิดวิเคราะห์สามารถปรับประยุกต์ความรู้เรื่อง ตลอดจนทักษะที่จำเป็น และผู้เรียนยังสามารถเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มจากการนำองค์ความรู้ที่ได้พัฒนาตนเองและเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) พัฒนานักเรียนให้เต็มตามศักยภาพ เหมาะสมตามวัยและลักษณะของผู้เรียน